วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552

เลื่อนการบรรยายเชิงปฏิบัติการ Biomechanics

เนื่องจากความไม่สะดวกบางประการ
คณะผู้จัดขอแจ้งเลื่อนการบรรยายเชิงปฏิบัติการ Biomechanics ของ Vasevolod Myerhold โดยอ.อรพรรณ อาจสมรรถ จากหมายกำหนดเดิม
เป็นวันที่ 15 และ 16 กันยายน 2552 เวลา 16.30-19.30น. ณ ห้องประชุมดร.เทียม โชควัฒนา (ห้องเล็ก) คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การฝึกฝนนักแสดงด้วยกระบวนการกาย-จิต



การฝึกฝนนักแสดงด้วยกระบวนการกาย-จิตเชื่อว่า
ร่างกายและจิตใจของมนุษย์นั้นเป็นหนึ่งเดียวไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้
เมื่อจิตรู้กายก็รู้ เมื่อร่างกายเคลื่อนไหวจิตก็เคลื่อนไหว
การฝึกฝนในแนวทางนี้จึงมักรวมการฝึกโยคะ-สมาธิและศึลปะป้องกันตัวต่างๆ
เข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเพื่อให้นักแสดงสามารถฝึกฝนร่างกาย
และจิตใจไปพร้อมๆ กัน

แนวทางการฝึกฝนที่ตั้งอยู่บนรากฐานของปรัชญาและวิถึปฏิบัติแห่ง
โลกตะวันออกนี้กำเนิดขึ้นมาเพื่อตอบปัญหาในการฝึกฝนการแสดง
ของตะวันตกเกี่ยวกับเรื่องที่ว่า ที่แท้แล้วจิตเป็นสิ่งที่ควบคุมการแสดงออกภายนอก หรือรูปแบบของการแสดงออกส่งผลไปสู่ความรู้สึกภายใน


สาขาวิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ขอเชิญท่านเข้าร่วมฝึกอบรมปฏิบัติการ
การฝึกฝนการแสดงผ่านกระบวนการกาย-จิตกับ Dr.Yoo Jeungsook
ในวันที่ 10, 13 และ 14 สิงหาคม 2552 ระหว่างเวลา 16.00-19.00 น.
สำรองที่นั่งได้ที่ pa_at_chula@yahoo.com (รับจำนวนจำกัด)








Dr. Yoo Jeungsook เป็นครูผู้ฝึกสอนการแสดงที่ Korea National University of Arts และเป็นนักแสดงชาวเกาหลีที่มีผลงานการแสดง
และการสอนในระดับนานาชาติ

Dr. Yoo ได้รับการถ่ายทอดแนวทางการใช้ศิลปะป้องกันตัว kalarippayattu ของอินเดียเพื่อการฝึกฝนนักแสดงมาจากศาสตราจารย์ Phillip Zarrilli
และเป็นผู้คิดค้นวิธีการหลอมรวมการทำสมาธิแบบเกาหลี DahnHak มาใช้ในการฝึกฝนนักแสดง

วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Michael Chekov's Actor Training Workshop



Michael Chekov (ค.ศ. 1981-1955)

ไมเคิล เชคอฟ เป็นหลานชายของอันตัน เชคอฟ (Anton Chekov) และเป็นลูกศิษย์ที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของ คอนสแตนติน สตานิสลาฟสกี้ สองนักการละครชาวรัสเซียผู้นำการละครตะวันตกสู่แนวทาง
การนำเสนอแบบสัจจนิยม


ไมเคิล เชคอฟเป็นนักแสดงและผู้ช่วยคนสำคัญคนหนึ่งของสตานิสลาฟสกี้ หากในช่วงหลังการปฏิวิติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เขาก็ได้แยกตัวออกมาตั้งสตูดิโอและคณะละครของตนเองโดยให้เหตุผลว่า
การฝึกฝนการแสดงของสตานิสลาฟสกี้นั้นเน้นการคิดวิเคราะห์
และมุ่งไปในทางละครแนวสัจจนิยม/ธรรมชาตินิยมจนเกินไป

ไมเคิล เชคอฟได้พัฒนาแนวทางการฝึกฝนนักแสดงของตนขึ้นมา ถึงแม้ว่าโดยรวมแล้วแนวทางของเขาก็ยังคงเน้นที่ การปลดปล่อยจิตใต้สำนึกของนักแสดงตามสมมุติฐานของสตานิสลาฟสกี้ เขาก็ได้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะให้นักแสดง"ใช้หัว"คิดวิเคราะห์ตัวละครอย่าง
เป็นบ้าเป็นหลัง และสนับสนุนให้นักแสดง"ใช้ร่างกาย"และ"จินตนาการ"
เป็นสื่อในการเข้าถึงตัวละคร

สาขาวิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ ขอเชิญท่านเข้าร่วมฝึกอบรมปฏิบัติการ
การฝึกฝนการแสดงของ Michael Chekov กับ อ. กฤษณะ พันธ์ุเพ็ง
ในวันที่ 6 และ 7 สิงหาคม 2552 ระหว่างเวลา 16.00-19.00 น.
สำรองที่นั่งได้ที่ pa_at_chula@yahoo.com (รับจำนวนจำกัด)



กฤษณะ พันธุ์เพ็ง

จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้าน Drama and Theatre Studies จาก Royal Holloway, University of London ประเทศอังกฤษ และปริญญาโททางด้านการจัดการทางวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

กฤษณะได้รับการฝึกฝนการแสดงมาแล้วหลากหลายรูปแบบ (ตั้งแต่ Stanislavski’s System และ Commedia dell’arte ของตะวันตกจนถึง Butoh และ Noh Theatre ของตะวันออก)

กฤษณะเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาศิลปะการแสดงประยุกต์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และเป็นอาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (2550-2551) เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มละครใหม่ numen.n.co

ปัจจุบันกำลังศึกษาในระดับปริญญาเอกด้าน Performance Practice ที่ University of Exeter ประเทศอังกฤษ

วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

รายการอาศรมความคิดประจำเดือนสิงหาคม 2552

3 ส.ค.52 เวลา 16.30-19.30 น.
แบบแผนการฝีกฝนนักแสดง: ภูมิหลังและประเด็นวิชาการ
Stanislavski’s“The System” และ Meyerhold’s“Biomechanics”
สนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ฝึกสอนและนักเรียนการแสดง

6-7 ส.ค.52 เวลา 16.30-19.30 น.
Michael Chekov Workshop กับ อาจารย์กฤษณะ พันธ์ุเพ็ง

10-14 ส.ค.52 เวลา 16.30-19.30 น.
Psychophysical Workshop กับ Dr. Yoo Juengsook

27-28 ส.ค.52 เวลา 16.30-19.30 น.
“Biomechanics” Workshop กับ อาจารย์อรพรรณ อาจสมรรถ

ทุกรายการจัดที่ ห้องประชุมดร.เทียม โชควัฒนา (ห้องเล็ก) อาคาร 1 คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สำรองที่นั่ง pa_at_chula@yahoo.com

วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

โครงการอาศรมความคิด “การแสดงวิชาการ - วิชาการแสดง“

การแสดงเป็นวิชาการหรือไม่? อะไรคือวิชาการของการแสดง?
การแสดงมีถูกมีผิดหรือไม่?
หรือว่ามีรูปแบบของการแสดงออกและแนวทางการฝึกฝนที่หลากหลาย?
อะไรคือหัวใจและแนวปฎิบัติของการฝึกฝนการแสดงแต่ละสำนัก?
เราพูดถึงการแสดงในเชิงวิชาการได้อย่างไรบ้าง?


เหล่านี้เป็นคำถามที่เราถามใน โครงการอาศรมความคิด “การแสดงวิชาการ - วิชาการแสดง“

โครงการอาศรมความคิดในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะ
รวบรวมแนวคิดปฎิบัติของการฝึกฝนนักแสดง
รวมทั้งเป็นการเปิดพื้นที่ในการสนทนาวิชาการว่าด้วยการแสดง
ในการนี้เราได้แบ่งความรู้ทางการแสดงที่เราสนใจเป็นสามกลุ่ม คือ

1. แบบแผนการฝึกฝนที่เป็นต้นฉบับของตะวันตกและตะวันออก
2. การตกผลึกทางความคิดของนักการละครไทย
3. ทัศนะวิเคราะห์จากมุมมองต่างๆ เกี่ยวกับการแสดง

เราอยากบอกว่าเราไม่ได้จะตั้งตัวเป็นผู้เชี่ยวชาญ เพราะเราก็รู้เท่าที่เรารู้ เราแค่อยากแลกเปลี่ยนความรู้และทัศนะกับคนที่สนใจในเรื่องเดียวกัน
หากกระนั้นเราก็แอบหวังว่าเราจะมีส่วนป็นกำลังสนันสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้า
และเผยแพร่ความรู้ทางด้านนี้อย่างจริงจังทั้งในส่วนของสถาบันการศึกษา
และนักปฏฺิบัติการละคร

การดำเนินงาน


• บรรยาย สาธิตและ Workshop โดยผู้ที่ผ่านการฝึกฝนการแสดง ในแนวทางต่างๆ
• การนำเสนอทัศนะวิเคราะห์ผ่านมุมมองของผู้สังเกตการณ์

โดยสามารถติดตามรายละเอียดและกำหนดการต่างๆ ได้ที่ http://paatchula.blogspot.com
Email: pa_at_chula@yahoo.com

ระยะเวลาในการดำเนินงาน

สิงหาคม ๒๕๕๒ - กันยายน ๒๕๕๓

ผู้เข้าร่วมโครงการ

เครือข่ายนักวิชาการศิลปะการแสดงแห่งประเทศไทย
นักศึกษาด้านการละคร
นักการละคร

ผู้รับฝิดชอบโครงการ

สาขาวิชาสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

Welcome!!!

ขอต้อนรับสู่ Blog ของสาขาสื่อสารการแสดง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Welcome to an official blog of the Department of Performing Arts at Chulalongkorn University